บทความ

1.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบประมวลผลแบบกลุ่มเฆม (cloud computing)

รูปภาพ
1.1     ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบประมวลผลแบบกลุ่มเฆม ( cloud computing) การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ ( อังกฤษ : cloud computing) เป็นลักษณะของการทำงานของผู้ใช้งาน คอมพิวเตอร์ ผ่าน อินเทอร์เน็ต ที่ให้บริการใดบริการหนึ่งกับผู้ใช้ โดยผู้ให้บริการจะแบ่งปัน ทรัพยากร ให้กับผู้ต้องการใช้งานนั้น การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ เป็นลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อมาจากความคิดและบริการของ เวอร์ชัวไลเซชัน และ เว็บเซอร์วิซ โดยผู้ใช้งานนั้นไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเชิงเทคนิคสำหรับตัวพื้นฐานการทำงานนั้น   สถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ ของสหรัฐอเมริกาให้คำจำกัดความ " cloud" ว่า มันเป็น อุปลักษณ์ จากคำในภาษาอังกฤษที่แปลว่า เมฆ   กล่าวถึงอินเทอร์เน็ตโดยรวม   ในรูปของ โครงสร้างพื้นฐาน ( เหมือนระบบไฟฟ้า ประปา) ที่พร้อมให้บริการกับผู้ใช้งานเมื่อมีความต้องการใช้   ผู้ให้บริการการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆส่วนใหญ่ จะให้บริการในลักษณะของ เว็บแอปพลิเคชัน โดยให้ผู้ใช้ทำงานผ่าน เว็บเบราว์เซอร์ ขณะเดียวกันซอฟต์แวร์และข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆนั้น ถูกอธิบ

1.2 ประเภทของระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเฆม (cloud computing)

1.2 ประเภทของระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเฆม ( cloud computing) การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ กับ เครือข่ายเชื่อมโยงการกระจายทรัพยากร ข้อแตกต่างระหว่าง การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ ( Cloud Computing) และ เครือข่ายเชื่อมโยงการกระจายทรัพยากร (Grid Computing) กล่าวคือ การประมวผลแบบกริด จะเป็นการแบ่งบันทรัพยากรร่วมกันระหว่างบุคคลและองค์กร โดยจะถูกกำหนดและควบคุมภายใต้กฎขององค์กรที่เรียกว่า องค์กรเสมือน (Virtual organization) โดยทั้งสองอย่างนี้จะเหมือนกันมาก ในแง่ที่เป็นการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์หลายตัว จนเป็น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยที่ผู้ใช้ระบบไม่ต้องมีทรัพยากรที่มากไป มีลักษณะเป็น ธิน ไคลเอน (Thin client) โดยการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ จะเน้นผู้ใช้เป็นหลัก ส่วนเครือข่ายเชื่อมโยงการกระจายทรัพยากร จะเน้นไปที่ระบบมากกว่า ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ ในภาครัฐ โดยระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆในภาครัฐ จะสามารถลดช่องว่างในการเข้าถึงเทคโนโลยี ในการดำเนินงานของภาครัฐได้ จะช่วยให้การบริการต่อ ภาคประชาชน หรือ Government to Citizen (G2C) ภาคธุรกิจ หรือ Government to Business (G2B) ภาคราชการ หรือ Governmen

1.3ข้อดีและข้อเสีย (Cloud Computing)

1.3 ข้อดีและข้อเสีย ( Cloud Computing)  ข้อดีของ Cloud Computing 1) ลดต้นทุนค่าดูแลบำรุงรักษาเนื่องจากค่าบริการได้รวมค่าใช้จ่ายตามที่ใช้งาน จริง เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าซ่อมแซม ค่าลิขสิทธิ์ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าอัพเกรด และค่าเช่าคู่สาย เป็นต้น 2) ลดความเสี่ยงการเริ่มต้น หรือการทดลองโครงการ 3) สามารถลดหรือขยายได้ตามความต้องการ 4) ได้เครื่องแม่ข่ายที่มีประสิทธิภาพ มีระบบสำรองข้อมูลที่ดี มีเครือข่ายความเร็วสูง 5) อยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ ข้อเสียของ Cloud Computing 1) จากการที่มีทรัพยากรที่มาจากหลายแห่ง จึงอาจเกิดปัญหาด้านความต่อเนื่องและความรวดเร็ว 2) ยังไม่มีการรับประกันในการทำงานอย่างต่อเนื่องของระบบและความปลอดภัยของข้อมูล 3) แพลทฟอร์มยังไม่ได้มาตรฐาน   ทำให้ลูกค้ามีข้อจำกัดสำหรับตัวเลือกในการพัฒนาหรือติดตั้งระบบ site 4) เนื่อง จากเป็นการใช้ทรัพยากรที่มาจากหลายที่หลายแห่งทำให้อาจมีปัญหาในเรื่องของ ความต่อเนื่องและความเร็วในการเข้าทรัพยากรมากกว่าการใช้บริการ Host ที่ Local หรืออยู่ภายในองค์การของเราเอง

1.4 การประยุกต์ใช้ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเฆมสำหรับสถานศึกษา

รูปภาพ
1.4 การประยุกต์ใช้ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเฆมสำหรับสถานศึกษา แนวคิดเรื่อง Social Network หรือ เครือข่ายสังคมออนไลน์ มักปรากฏให้เห็นในลักษณะของการนำมาใช้เพื่อดำเนินงานหรือกิจกรรมต่างๆ โดยมีตัวบุคคลหรือหน่วยงานต่างๆ ร่วมกันเป็นเครือข่าย เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกัน แลกเปลี่ยนแบ่งปันทรัพยากร ข้อมูลข่าวสาร แต่ปัจจุบันคำว่า Social Network จะหมายถึงระบบเครือข่ายบนโลกออนไลน์ หรือการติดต่อสื่อสารถึงกันผ่านอินเตอร์เน็ตนั่นเอง Social Network จึงหมายถึงการที่มนุษย์สามารถเชื่อมโยงถึงกัน ทำความรู้จักกัน สื่อสารกันได้ผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งหากเป็นเว็บไซด์ที่เรียกว่าเป็นเว็บ Social Network ก็คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันนั่นเอง โดยเว็บไซต์เหล่านี้จะมีพื้นที่ให้ผู้คนเข้ามารู้จักกัน มีการให้พื้นที่ บริการเครื่องมือต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการสร้างเครือข่าย สร้างเนื้อหาตามความสนใจของผู้ใช้ ปัจจุบันมีเว็บไซต์ประเภท Social Network เกิดขึ้นจำนวนมาก ทั้งที่มีเป้าหมายเชิงพาณิชย์ และไม่แสวงหากำไรนอกจะใช้ในการติดต่อสื่อสารเพื่อความสนุก เพลิดเพลิน บันเทิงแล้วเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่น

1.5 การประยุกต์ใช้ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเฆมสำหรับสถานประกอบการ

รูปภาพ
1.5  การประยุกต์ใช้ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเฆมสำหรับสถานประกอบการ ในปัจจุบันมีผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไอทีเปิดให้บริการแก่ผู้ใช้ไม่ว่าจะเป็นระดับองค์กรทั้งหลาย รวมไปถึงระดับบุคคลที่ต้องการประมวลผลข้อมูลของตน เช่น บริการแอพพลิเคชั่นกลุ่มเมฆ ( Cloud Application)  เป็นแอพพลิเคชั่นที่เปิดให้บริการบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้ง หรือรันแอพพลิเคชั่นที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่เป็นการใช้บริการรันแอพพลิเคชั่นผ่านเครือข่ายจึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ การดูแลในระดับปฏิบัติการ หรือระบบสนับสนุน ตัวอย่างเช่น  Peer-to-peer/Volunteer Computing (Bittorent, SETI, Skype) Web application (Facebook) Software As A Service (Google Apps,Google Docs,Salesforce) Software plus services (Microsoft Online service)  เช่น บริการแอพพลิเคชั่นด้านเอกสารของ  Google Docs  ที่ ให้บริการเวิร์ดโพรเซสซิ่ง สเปรดชีท และพรีเซนเทชั่น ผ่านเว็บไซต์โดยผู้ใช้สามารถสร้างเอกสาร แก้ไข จัดเก็บ และแบ่งปันให้กับผู้เกี่ยวข้องผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อีกทั้งยังสามารถให้คุณสมบัติให้ผู้อื่นร่วมแก

1.6 (Cloud Computing) กับการบริการทรัพยากรสารสนเทศ

รูปภาพ
1.6  (Cloud Computing)  กับการบริการทรัพยากรสารสนเทศ   อินเทอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญในกิจกรรมที่หลากหลายของคนในสังคม โดยเฉพาะการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตกลายเป็นสิ่งจำเป็นของสังคม ทั้งในชีวิตประจำวัน การทำงาน ธุรกิจ การศึกษา และบันเทิง อินเทอร์เน็ตจึงเป็นศูนย์กลางที่เชื่อมโยงระหว่างผู้คนในสังคม ข้อมูล และเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ประกอบด้วยโปรแกรมการทำงาน ( Software applications)  จำนวนมากและอุปกรณ์หลากหลายชนิด เทคโนโลยี  Cloud-computing  เป็นตัวอย่างหนึ่งของแนวคิดการทำงานบนอินเตอร์เน็ต ที่แพร่หลายและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย  Cloud-computing  เป็นเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นการบูรณาการวิทยาการทางเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ ( Networking and computing)  การจัดเก็บข้อมูล ( Storage)  การบริการทรัพยากรข้อมูล ( Data service resources)  ไว้ด้วยกัน  Cloud-computing  เปิดตัวด้วยการเสนอแนวทางการส่งเสริมการใช้งานโปรแกรมการทำงานร่วมกันบนอินเตอร์เน็ตที่เข้าใจง่ายสำหรับ โดยคำว่า  “ ก้อนเมฆ/กลุ่มเมฆ  – Cloud”  ต้องการสื่อถึง เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์เข้าด้วยกัน

1.7 (Cloud Computing) มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง

รูปภาพ
1.7  (Cloud Computing)  มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง ปัจจุบันมีบริการ  Cloud Computing   อยู่มากมาย และหลาย ๆ คนได้ใช้งานโดยไม่รู้ตัว  Cloud Computing  นั้นมีทั้งแบบที่ให้เราใช้งานได้ฟรีจำนวนหนึ่ง เมื่อพึงพอใจแล้วจึงซื้อบริการแบบเต็มรูปแบบ และแบบที่ให้ทดลองใช้แบบเต็มรูปแบบ ณ ระยะเวลาหนึ่ง เมื่อหมดเวลาหากชื่นชอบในบริการ สามารถเลือกซื้อตามแผนที่ต้องการได้ ต่อไปนี้จะขอยกตัวอย่าง  Cloud Computing  ที่หลาย ๆ คนอาจจะเคยใช้งาน แต่ไม่เคยทราบมาก่อนเลยว่ามันคือ  Cloud Computing  ซึ่งได้แก่  Dropbox, GoogleDrive   และ  OneDrive  นั่นเอง นอกจากที่ได้ยกตัวอย่างมาแล้วนั้นยังมีผู้ให้บริการรายอื่น ๆ อีกมากมายที่ให้บริการในลักษณะนี้ เอาไว้โอกาสหน้าคงได้มานำเสนอกัน เรามาเริ่มต้นที่  Dropbox  กันก่อน ซึ่งเป็นบริการที่ครอบคลุมครบถ้วน เรียกได้ว่าจะใช้งาน  Dropbox  บนอุปกรณ์ใด ๆ ก็ได้ เพราะสามารถใช้งานได้บนเว็บไซต์ บนสมาร์ทดีไวซ์ และบนแอปพลิเคชั่นบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อสมัครใช้บริการจะได้รับพื้นที่สำหรับจัดเก็บไฟล์ จำนวน  2 GB  และสามารถแนะนำให้เพื่อน ๆ ใช้งาน