1.6 (Cloud Computing) กับการบริการทรัพยากรสารสนเทศ

1.6  (Cloud Computing) กับการบริการทรัพยากรสารสนเทศ

 

อินเทอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญในกิจกรรมที่หลากหลายของคนในสังคม โดยเฉพาะการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตกลายเป็นสิ่งจำเป็นของสังคม ทั้งในชีวิตประจำวัน การทำงาน ธุรกิจ การศึกษา และบันเทิง อินเทอร์เน็ตจึงเป็นศูนย์กลางที่เชื่อมโยงระหว่างผู้คนในสังคม ข้อมูล และเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ประกอบด้วยโปรแกรมการทำงาน (Software applications) จำนวนมากและอุปกรณ์หลากหลายชนิด เทคโนโลยี Cloud-computing เป็นตัวอย่างหนึ่งของแนวคิดการทำงานบนอินเตอร์เน็ต ที่แพร่หลายและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย Cloud-computing เป็นเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นการบูรณาการวิทยาการทางเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ (Networking and computing) การจัดเก็บข้อมูล (Storage) การบริการทรัพยากรข้อมูล (Data service resources) ไว้ด้วยกัน Cloud-computing เปิดตัวด้วยการเสนอแนวทางการส่งเสริมการใช้งานโปรแกรมการทำงานร่วมกันบนอินเตอร์เน็ตที่เข้าใจง่ายสำหรับ โดยคำว่า ก้อนเมฆ/กลุ่มเมฆ – Cloud” ต้องการสื่อถึง เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์เข้าด้วยกันนั้นเอง
Cloud computing ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทในทุกวงการอย่างต่อเนื่อง กลุ่มห้องสมุดก็เช่นกัน อันมีสาเหตุจาก



  • ความนิยมการสื่อสารทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยชีวิตของเด็กรุ่นใหม่ได้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตอย่างแยกจากกันไม่ได้ การเติบโตของบริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะสื่อสังคม เครือข่ายสังคม ส่งผลให้กระแสการใช้งาน Cloud computing เติบโตตามไปด้วย
  • กระแสลดภาวะโลกร้อน ด้วยกระแสลดภาวะโลกร้อน การเพิ่มพื้นที่สีเขียว แนวคิดการรวมหรือใช้เครื่องแม่ข่ายเว็บร่วมกัน จึงได้รับการตอบรับ ผสานกับความต้องการประหยัดงบประมาณที่เกี่ยวข้อง
  • การใช้งานที่ง่าย สะดวก ไม่ซับซ้อน ระบบไอทีที่มาพัฒนาอย่างต่อเนื่องในยุคหนึ่งกลับสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้เพราะมีระบบติดต่อผู้ใช้ ฟังก์ชันการใช้งานที่สลับซับซ้อนตามไปด้วย แต่ด้วยแนวคิดการออกแบบในยุค Cloud computing ที่เน้นการใช้งานในภาพรวมของกลุ่มคนส่งผลให้ระบบติดต่อผู้ใช้ ฟังก์ชันการใช้งานมีระบบที่ง่าย สะดวก ไม่ซับซ้อน ซึ่งสร้างแรงจูงใจให้ทุกคน ทุกวัยมีความสนุกกับการใช้ไอที
การใช้ Cloud computing ในการบริการทรัพยากรสารสนเเทศของห้องสมุด เห็นภาพได้ชัดจากเหตุการณ์หลายๆ เหตุการณ์ เช่น
  • การให้บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า (Reference Service) : โดยการนำ Facebook, LIne, Google Talk, Sky, GMail มาประยุกต์ใช้ในบริการนี้ และยังสามารถผสานความน่าสนใจของเนื้อหาโดยการแทรกคำตอบที่อยู่ในรูปแบบของสื่อวีดิทัศน์ บทเรียนเชิงโต้ตอบ ด้วยการแนบ Youtube Movie หรือ Slideshare Presentation ไปกับบริการข้างต้น
  • การให้บริการความรู้ : โดยการนำ Wordpress.com, iGoogle, Google Site มาประยุกต์ใช้ในการบริการความรู้ เช่น การกำหนดให้ iGoogle เป็นหน้าแรกของการเข้าเว็บเบราว์เซอร์ และสร้าง Google Gadgets ที่ดึงสารสนเทศจากแหล่งต่างๆ ด้วยเทคนิค RSS Feed หรือการเปิดเว็บไซต์บริการความรู้ด้วย Wordpress.com, Google Site
  • การสร้างชุมชนสร้างความรู้ การจัดการความรู้ ด้วย Wordpress.com, Google Groups, Facebook Page, Youtube, Sldieshare 
  • การร่วมกันลงรายการทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบห้องสมุดแบบ Cloud ด้วยบริการของ LibraryThing.com หรือ WorldCat.org
  • การบริหารจัดการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศ การอ้างอิงด้วย Zotero.org
  • การปรับปรุงระบบสมาชิกของระบบต่างๆ ที่ให้บริการของห้องสมุด ด้วยบัญชีผู้ใช้แบบ OpenID หรือ OAuth protocol
  • การนำเสนอข้อมูลห้องสมุด โดยเฉพาะพื้นที่ที่หวงห้าม ทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการการสงวนรักษาเป็นพิเศษด้วยบริการผ่าน Youtube
  • การนำเสนอภาพกิจกรรม การร่วมกันจัดทำคลังภาพแบบเปิด ด้วย Flickr.com
  • การปรับเปลี่ยนระบบเครื่องแม่ข่ายเว็บของระบบต่างๆ ในห้องสมุดให้เป็นเครื่องแม่ข่ายแบบ Cloud computing 
เนื้อหานี้คงเป็น "ตัวอย่างเบื้องต้น" ของการประยุกต์ใช้ Cloud computing กับการบริการทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

1.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบประมวลผลแบบกลุ่มเฆม (cloud computing)

1.2 ประเภทของระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเฆม (cloud computing)

1.5 การประยุกต์ใช้ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเฆมสำหรับสถานประกอบการ