1.7 (Cloud Computing) มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง


1.7  (Cloud Computing) มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง








ปัจจุบันมีบริการ Cloud Computing อยู่มากมาย และหลาย ๆ คนได้ใช้งานโดยไม่รู้ตัว Cloud Computing นั้นมีทั้งแบบที่ให้เราใช้งานได้ฟรีจำนวนหนึ่ง เมื่อพึงพอใจแล้วจึงซื้อบริการแบบเต็มรูปแบบ และแบบที่ให้ทดลองใช้แบบเต็มรูปแบบ ณ ระยะเวลาหนึ่ง เมื่อหมดเวลาหากชื่นชอบในบริการ สามารถเลือกซื้อตามแผนที่ต้องการได้

ต่อไปนี้จะขอยกตัวอย่าง Cloud Computing ที่หลาย ๆ คนอาจจะเคยใช้งาน แต่ไม่เคยทราบมาก่อนเลยว่ามันคือ Cloud Computing ซึ่งได้แก่ Dropbox, GoogleDrive  และ OneDrive นั่นเอง นอกจากที่ได้ยกตัวอย่างมาแล้วนั้นยังมีผู้ให้บริการรายอื่น ๆ อีกมากมายที่ให้บริการในลักษณะนี้ เอาไว้โอกาสหน้าคงได้มานำเสนอกัน
เรามาเริ่มต้นที่ Dropbox กันก่อน ซึ่งเป็นบริการที่ครอบคลุมครบถ้วน เรียกได้ว่าจะใช้งาน Dropbox บนอุปกรณ์ใด ๆ ก็ได้ เพราะสามารถใช้งานได้บนเว็บไซต์ บนสมาร์ทดีไวซ์ และบนแอปพลิเคชั่นบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อสมัครใช้บริการจะได้รับพื้นที่สำหรับจัดเก็บไฟล์ จำนวน 2 GB และสามารถแนะนำให้เพื่อน ๆ ใช้งาน Dropbox เราก็จะได้พื้นที่เพิ่มแต่ไม่เกิน 16 GB





สามารถติดตั้ง Application บนแท็ปเล็ตสมาร์ทโฟน และบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อดีคือสามารถทำการแก้ไขไฟล์บนอุปกรณ์ใด ๆ ก็ได้ เช่น แก้ไขไฟล์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วนำไฟล์นั้นไปวางในโฟลเดอร์ของ Dropbox เมื่อ Upload เสร็จเรียบร้อย ก็สามารถเปิดไฟล์เหล่านั้นบน แท็ปเล็ด หรือสมาร์ทโฟนได้ทันที 

การสมัครใช้บริการ Dropbox นั้นสามารถใช้ E-mail ใด ๆ ก็ได้ในการสมัคร ไม่ว่าจะเป็น Gmail, Outlook.com หรือ Yahoo เป็นต้น แต่ถ้าคุณจะใช้บริการของ Google Drive หรือ OneDrive จะต้องเป็น E-mail ของค่ายนั้น ๆ 

Cloud Computing นั้นดีกับชีวิตประจำวันอย่างไร
1.  มีพื้นที่สำหรับสำรองข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต หาก Harddisk บนเครื่องคอมพิวเตอร์มีปัญหาข้อมูลก็ยังอยู่
2.  แชร์ไฟล์ต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย
3.  บาง App มีฟังก์ชั่นสำหรับ Upload ข้อมูลให้อัตโนมัติ
4.  การโอนส่งไฟล์ไปมาระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับแท็ปเล็ต หรือสมาร์ทโฟนทำได้ง่ายขึ้น
5.  สะดวกสบายเปิดไฟล์ที่ไหนก็ได้ ขอแค่มีอินเตอร์เน็ต

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

1.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบประมวลผลแบบกลุ่มเฆม (cloud computing)

1.2 ประเภทของระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเฆม (cloud computing)

1.5 การประยุกต์ใช้ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเฆมสำหรับสถานประกอบการ